วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจรักไทย
ระเบียบนักเรียน/นักศึกษา พุทธศักราช 2555
การกำหนดแนวทางในการป้องกัน แก้ไข ควบคุมและส่งเสริมความประพฤติของนักเรียน/นักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจรักไทย เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ถูกต้องตามระเบียบและบังเกิดผลแก่ทางวิทยาลัย ฉะนั้นอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 132 ลงวันที่ 22 เมษายน 2515และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียน/นักศึกษา พ.ศ. 2543 วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจรักไทย จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อที่ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบวิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจรักไทย ว่าด้วยการปกครองนักเรียน/นักศึกษา พ.ศ. 2552”
ข้อที่ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้ตั้งแต่วันที่18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ข้อที่ 3 ให้ระเบียบนี้
สถานศึกษา หมายถึง วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจรักไทย
หัวหน้าสถานศึกษา หมายถึง ครูใหญ่/อาจารย์/ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจรักไทย
ครู - อาจารย์ หมายถึง เจ้าหน้าที่ วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจรักไทย
นักเรียน - นักศึกษา หมายถึง นักเรียน/นักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจรักไทย
ผู้ปกครอง หมายถึง บุคคลซึ่งได้รับนักเรียน/นักศึกษาไว้ในความปกครองหรีออุปการะ
เลี้ยงดู หรือบุคคลที่นักเรียน/นักศึกษาอาศัยอยู่ และ นักเรียน/นักศึกษา
ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกัน
หมวด ก. การปฏิบัติตนโดยทั่วไปของนักเรียน/นักศึกษา
ข้อที่ 4 การปฏิบัติตนโดยทั่วไปของนักเรียน/นักศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจรักไทย
-
ต้องสำนึกและพึงรู้อยู่เสมอว่าตนเป็นนักเรียน/นักศึกษา ต้องปฏิบัติตามระเบียบวิทยาลัยอย่าง
เคร่งครัด เพราะระเบียบก่อให้เกิดวินัย และวินัยก่อให้เกิดความรอบรู้ตนเองและส่วนรวม
-
นักเรียน/นักศึกษาต้องมีผู้ปกครองตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2522
-
ประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นคนดี เคารพเชื่อฟังบิดามารดา ญาติผู้ใหญ่ผู้ปกครอง ครู-อาจารย์ รู้จักพึ่งตนเอง ขยันหนั่นเพียร มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ สุจริต ตรงต่อเวลา และเว้นอบายมุขทุกประเภท
-
มีกริยามารยาทเรียบร้อย สุภาพอ่อนโยน ต่อบุคคลทั่วไป ไม่ล้อเลียน ข่มขู่ ก้าวร้าว ข่มแหง ผู้อื่น
-
รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ช่วยส่งเสริมสนับสนุนและเข้าร่วม กิจกรรมต่าง ๆ ของวิทยลัยอย่างสม่ำเสมอ
-
สร้างความรักความสามัคคีในหมู่คณะ ไม่ยุยงแตกแยก ไม่ทะเลาะวิวาทกันทั้งเพื่อนศึกษาในวิทยาลัยเดียวกันและต่างสถาบัน
-
รักษาทรัพย์สินทุกประเภท ถ้าทำลายทรัพย์สินของทางวิทยาลัยต้องรับผิดชอบและยินยอมชดใช้ค่าเสียหาย
-
เสียสละบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม ช่วยเหลืองานต่าง ๆ ของวิทยาลัยด้วยความเต็มใจ
-
ไม่นำอาวุธหรือวัตถุอื่นที่อาจก่อให้เกิดอันตรายเข้ามาในวิทยาลัย
-
นักเรียน/นักศึกษาจะต้องเข้าออกวิทยาลัยทางประตูวิทยาลัยเท่านั้น
ข้อที่ 5 การมาวิทยาลัย
1.การเข้าออกวิทยาลัยให้ใช้ประตูด้านหน้าวิทยาลัย นักเรียน/นักศึกษาทุกคนต้องทำความเคารพครู- อาจารย์ที่ปฏิบัติหน้าที่เวร หรือผู้ปกครอง ผู้ใหญ่ คณาจารย์ เดินสวนกัน ด้วยการยกมือไหว้ พร้อมกับ กล่าวคำว่าสวัสดีครับ/ค่ะ และยกมือไหว้ ทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัย พร้อมยกมือไหว้พระพุธรรูป พระวิษณุกรรม สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือประจำสถานศึกษาด้วยทุกครั้ง
2.ในกรณีที่นักเรียน/นักศึกษาใช้ยานพาหนะ ก่อนเข้าหรือออกจากประตูวิทยาลัยให้จอดยานพาหนะก่อนและทำความเคารพครู-อาจารย์เวร แล้วจูงยานพาหนะออกไปจนพ้นประตูวิทยาลัยแล้วจึงขับขี่ไปได้
3.เพื่อเป็นการป้องกันและรักษายานพาหนะไม่ให้สูญหายหรือถูกทำลายวิทยาลัยจึงห้ามนักเรียน/นักศึกษาเข้าไปในบริเวณจอดยานพาหนะจนกว่าวิทยาลัยจะเลิก
4.นักเรียน/นักศึกษาที่เข้าออกวิทยาลัยในตอนเช้าหรือวิทยาลัยเลิกจะต้องเดินเรียงแถวและเดินชิดขวาทุกครั้ง
5.ในวันหยุดถ้าวิทยาลัยมีความประสงค์จะให้นักเรียน/นักศึกษามาวิทยาลัยหรือมาปฏิบัติกิจกรรม ใดๆ วิทยาลัยจะมีหนังสือแจ้งผู้ปกครองและขออนุญาตก่อนทุกครั้ง
ข้อที่ 6 การมาสาย
1.ถือเป็นหน้าที่ของนักเรียน/นักศึกษาที่จะต้องมาเรียนให้ทันเข้าแถวร่วมกิจกรรมหน้าเสาธง เมื่อร้องเพลงชาติจบ นักเรียน/นักศึกษาที่อยู่นอกวิทยาลัยหรือไม่ทันเข้าแถวถือว่ามาสาย
ข้อ 7 การร่วมกิจกรรมหน้าเสาธง
1.เมื่อได้ยินสัญญาณออดเมื่อ 08.15 น. นักเรียน/นักศึกษาต้องมาเข้าแถวร่วมกิจกรรมหน้าเสาธง
2.นักเรียน/นักศึกษา เข้าแถวเป็นห้องเรียนตามที่กำหนดให้
3.นักเรียน/นักศึกษาต้องอยู่ในระเบียบแถว ตั้งใจทำกิจกรรมหน้าเสาธง
4.เมื่อทำกิจกรรมหน้าเสาธงเสร็จ ให้เดินเข้าห้องเรียนอย่างเป็นระเบียบ
ข้อ 8 การรักษาความสะอาดหอประชุม ห้องอาหาร ห้องโฮมรูม ห้องเรียน อาคารเรียน อาคารประกอบ ต่างๆ ในบริเวณวิทยาลัย ห้องน้ำ ห้องสุขา และห้ามทิ้งขยะไม่เป็นที่
1.เป็นหน้าที่ของนักเรียน/นักศึกษาทุกคนต้องทำความสะอาดห้องโฮมรูมตามที่อาจารย์ที่ปรึกษามอบหมายและต้องปฏิบัติหน้าที่ก่อนเข้าแถวหน้าเสาธง
2.นักเรียน/นักศึกษาที่ใช้ห้องเรียนของแต่ละชั่วโมงเรียน ต้องทำความสะอาดห้องเรียนกรณีต้องทิ้ง ขยะต้องทิ้งในถังขยะหลังห้องเรียน
3.นักเรียน/นักศึกษาต้องรักษาความสะอาดตามอาคารเรียน อาคารประกอบต่างๆ ห้องน้ำห้องส้อม และบริเวณสนามหญ้า บริเวณสถานที่ทั่วไปภายในวิทยาลัย
ข้อ 9 การเข้าออก ห้องเรียน ห้องพักครู การเข้าออกห้องเรียนในขณะอาจารย์อยู่ในห้อง นักเรียน/นักศึกษาต้องยืนตรงอยู่หน้าประตูยกมือไหว้ และขออนุญาต เมื่อได้รับอนุญาต ให้ยกมือไหว้แล้ว กล่าวขอบคุณการเข้าห้องพักครูให้ปฏิบัติเช่น เดี่ยวกัน กรณี ครู-อาจารย์ไม่อยู่ในห้อง ไม่อนุญาตให้ นักเรียน/ นักศึกษาเข้าไปในห้อง
ข้อ 10 การปฏิบัติตนเมื่ออยู่บนอาคาร
1.ไม่นำอาหาร หรือเครื่องดื่มขึ้นไปกินบนอาคาร
2.ไม่วิ่งหยอกล้อ ไม่เล่นกีฬาทุกประเภทบนอาคารและส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่นเรียนหนังสือ
3.ไม่ปีน ไม่นั่งบนพนังพิง ราวบั้นได ขอบหน้าต่าง ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุได้
4.การเดินบนอาคาร การขึ้นบันไดอาคารเรียนให้ชิดขวาทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนวุ่นวาย
ข้อ 11 การปฏิบัติตนในห้องเรียน
1. ต้องตั้งใจเรียน เคารพครู-อาจารย์ อย่างเคร่งคัด
2. มีวินัยในตนเอง
3.ไม่นำงานอื่นมาทำโดยครูผู้สอนไม่อนุญาต
4. เมื่อครูผู้สอนไม่เข้าห้องเรียนเกิน 5 นาทีไปแล้ว ให้หัวหน้ารีบไปตาม ครู-อาจารย์ผู้สอน
ข้อ 12 การขอออกนอกบริเวณวิทยาลัย
นักเรียน/นักศึกษา ที่เข้ามาในวิทยาลัยแล้วต้องอยู่ในการควบคุมของครู-อาจารย์ จะออกนอกบริเวณ วิทยาลัยโดยพลการไม่ได้จนกว่าจะเลิกเรียน ถ้ามีความจำเป็นจะต้องออกนอกบริเวณวิทยาลัยให้ปฏิบัติ ดังนี้
1. ถ้าเป็นเวลาในระหว่างคาบเรียน ให้ไปรับใบอนุญาตที่ฝ่ายปกครองแล้วบันทึกการขออนุญาตจากหัวหน้าสถานศึกษา จากนั้นให้นำไปอนุญาตติดตัวออกไปด้วยเมื่อกลับเข้ามาให้นำใบอนุญาตมาให้ฝ่ายปกครอง พร้อมลงบันทึกเวลากลับ จะขออนุญาตออกไปไม่เกิน 2 ชั่วโมง
2. ถ้าเป็นเวลาช่วงพักกลางวันให้ไปขออนุญาตที่ฝ่ายปกครองปกครอง แล้วปฏิบัติเช่น เดียวกับข้อ 1
3. นักเรียน/นักศึกษาที่ออกนอกวิทยาลัยโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการฝ่าฝืนของบังคับของวิทยาลัย มี ความผิดถือว่าหลบหนีออกนอกวิทยาลัย
ข้อ 13 การขออนุญาตกลับบ้านก่อนเลิกเรียน ต้องมีผู้ปกครองมารับพร้อมแสดงบัตรประจำตัวประชาชนเป็นหลักฐานหรือมีหนังสือจากผู้ปกครอง มาแสดงเป็นหลักฐาน
ข้อ 14 การลา ของนักเรียน/นักศึกษา
1. นักเรียน/นักศึกษา ต้องส่งใบลากิจหรือลาป่วยตามความเป็นจริงต่ออาจารย์ที่ปรึกษา ถ้าไม่ส่งใบลา ถือว่าขาดเรียน ใบลาของนักเรียน/นักศึกษาต้องมีผู้ปกครองรับรอง โดยเขียนข้อความท้ายในใบลาว่า ข้าพเจ้าของรับรองความเป็นจริงทุกประการ แล้วลงชื่อผู้ปกครองกำกับไว้
2. ถ้านักเรียน/นักศึกษาขาดเรียนจะดำเนินการดังนี้
2.1 ขาดเรียนติดต่อกัน 3 วัน อาจารย์ที่ปรึกษาแจ้งผู้ปกครองครั้งที่ 1
2.2 ขาดเรียนติดต่อกัน 1 สัปดาห์รายงานครั้งที่ 1 ไปแล้ว แต่ยังไม่ได้ รับการตอบรับจากผู้ปกครองอาจารย์ที่ปรึกษาจะออกติดตามเยี่ยมบ้าน
ข้อที่ 15 การแสดงความพอใจหรือการให้เกียรติการแสดงความพอใจหรือการให้เกียรตินักเรียน/นักศึกษา ครู-อาจารย์ และบุคคลทั่วไปให้ใช้วิธี ปรมมือ
ข้อที่ 16 การใช้คำพูดกับครู-อาจารย์
ให้นักเรียน/นักศึกษาใช้คำพูดกับอาจารย์ โดยใช้ภาษากลางทุกครั้ง เมื่อมีเรื่องขอคำปรึกษาให้ขึ้นต้น ด้วยคำว่า อาจารย์ครับ/ค่ะ เมื่อเสร็จรุระแล้วให้ยกมือไหว้ แล้ว ขอบคุณ ครับ/ค่ะ
ข้อที่ 17 การแสดงความเคารพ
ให้นักเรียน/นักศึกษาแสดงความเคารพ โดยปฏิบัติตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ ว่า ด้วยการ เคารพของนักเรียน/นักศึกษา พ.ศ. 2530 อย่างเคร่งครัด
ข้อที่ 18 ห้ามเล่นการพนัน ห้ามดื่มสุรา ห้ามเสพยาเสพติด ห้ามทะเลาะวิวาทกันภายในวิทยาลัยหรือกับบุคคลภายนอก มีโทษร้ายแรง
หมวด ข. การแก้ไขความประพฤติของนักเรียน/นักศึกษา
คะแนน หมายถึง คะแนนความประพฤติของนักเรียน/นักศึกษาโดยแบ่งดังนี้
1. คะแนนประจำตัว นักเรียน/นักศึกษา 1 คน 200 คะแนน ต่อปีการศึกษา
2. คะแนนประจำตัว นักเรียน/นักศึกษา 1 คน 100 คะแนน ต่อภาคเรียน
การกระทำผิด หมายถึง การที่นักเรียน/นักศึกษา ประพฤติผิดหรือฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษาหรือกระทรวงศึกษาธิการ หรือกระทรวงออกตามประกาศ ฉบับที่ 132 ลงวันที่ 22 เมษายน 2515 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการสั่งสอนให้มี ความประพฤติดีหรือให้เข็ดหลาบการว่ากล่าวตักเตือน หมายถึง การใช้สำหรับนักเรียน/นักศึกษาที่มีความผิดไม่ร้ายแรง
การทำกิจกรรม หมายถึง การให้นักเรียน/นักศึกษาที่กระทำ ความผิดหรือทำกิจกรรมหรือบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาตามหลักเกณฑ์หรือวิธีที่กำหนด
1. ทำความสะอาดเก็บเศษกระดาษ ขยะหน้าวิทยาลับ หรือบริเวณวิทยาลัย
2. ทำความสะอาด กวาดถนนในวิทยาลัยทุกสาย
3. ทำความสะอาดในห้องโฮมรูมของตนเอง
4. ทำความสะอาดห้องสำนักงาน สาขาวิชา ฝ่าย
5. ทำความสะอาดห้องน้ำ ห้องสุขา ครู-อาจารย์
6. ทำความสะอาดห้องน้ำ ห้องสุขา นักเรียน/นักศึกษา
7. ทำความสะอาดห้องสมุด
8. ทำความสะอาดห้องประชุม
9. ลบรอยขีดเขียน ภาพวาดตามโต๊ะ เก้าอี้นักเรียน/นักศึกษา
10. รดน้ำต้นไม้
11. คัดลอกคติพจน์และปรัชญาวิทยาลัย 1 หน้ากระดาษ A4
ทำทัณฑ์บน หมายถึง การที่หัวหน้านักเรียน/นักศึกษาพิจารณาลงโทษนักเรียน/นักศึกษาที่มีความประพฤติไม่เหมาะสมแก่สภาพนักศึกษา ตามกระทรวง กฎกระทรวงออกตามใบประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 132 ลงวันที่ 22 เมษายน 2515
การสั่งพักการเรียน หมายถึง ให้หัวหน้าสถานศึกษาพิจารณาการลงโทษให้พักการเรียนในกรณีดังนี้
1. นักเรียน/นักศึกษาที่มีความประพฤติตนไม่สมควรแก่สภาพนักเรียน /นักศึกษา
2. การลงโทษการสั่งพักการเรียนจะสั่งพักการเรียนครั้ง 1 ไม่เกิน 7 วันหรือความผิดนั้นจะได้รับการแก้ไขให้ถูกต้องแล้ว
การให้ย้ายสถานศึกษา หมายถึง นักเรียน/นักศึกษา ที่มีพฤติกรรมที่ไม่สมควร แก่สภาพการเป็นนักเรียน/ นักศึกษา ตามกระทรวงศึกษาธิการ ของการประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 132 หรือฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับสถานศึกษา หรือประพฤติ ผิดศีลธรรมหรือทำให้สถานศึกษาเสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติศักดิ์ของ สถานศึกษา หรือทำให้ชื่อเสียงของนักเรียน/นักศึกษาอื่นพลอยเสื่อมเสียให้หัวหน้าสถานศึกษาหรือบิดา-มารดา ผู้ปกครองมารับทราบเหตุผล แล้วให้ นักเรียน/นักศึกษาออกไป ในกรณีนี้ทางสถานศึกษาจะออกใบ รบ. ให้
ข้อที่ 18 ให้ครู-อาจารย์ ทุกคนเป็นผู้เสนอตัดคะแนนความประพฤติของนักเรียน/นักศึกษาโดยอนุมัติของ หัวหน้าสถานศึกษา
ข้อที่ 19 การลงโทษนักเรียน/นักศึกษา ให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าสถานศึกษาหรือ ครู-อาจารย์ ที่หัวหน้าสถานศึกษามอบหมายให้ดำเนินการตามความเหมาะสม ดังนี้
1. ว่ากล่าวตักเตือน
2. ทำกิจกรรม
3. ทำทัณฑ์บน
4. พักการเรียน
5. ย้ายสถานศึกษา
ข้อที่ 20 ให้สถานศึกษาพิจารณาลงโทษนักเรียน/นักศึกษา ดังนี้
1. ระดับใบประกาศวิชาชีพสำหรับโทษว่ากล่าวตักเตือน ทำกิจกรรม ทัณฑ์บนและย้ายสถานศึกษา
2. ระดับประกาศนียบัตรวิวชาชีพชั้นสูง โทษว่ากล่าวตักเตือน ทำกิจกรรม ทัณฑ์บนและย้ายสถานศึกษา
ข้อที่ 21 การลงโทษนักเรียน/นักศึกษา ผู้ลงโทษต้องกำหนดบทลงโทษชัดเจนแจ้งว่า ผู้นั้นกระทำผิดและ สมควร ถูกลงโทษโดยการอนุมัติของสถานศึกษา
ข้อที่ 22 การลงโทษตาม ข้อ 19 (2) ( 3) และ (4) ก่อนลงโทษให้ผู้เกี่ยวข้องเสนอความเห็นกับการประกอบเสนอหัวหน้าสถานศึกษาเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงลงโทษได้
ข้อที่ 23 การว่ากล่าวตักเตือนใช้สำหรับผู้กระทำความผิดร้ายแรง และในเมื่อหัวหน้าสถานศึกษาหรือ ครู-อาจารย์ที่หัวหน้าสถานศึกษาเห็น มอบหมายเห็นว่าเหมาะสมและจะได้ผลดีของนักศึกษาโดยครู-อาจารย์ตักเตือนโดยตัดคะแนนไม่เกินครั้งละ 10 คะแนน แบ่งระดับความผิดดังต่อไปนี้
1. แต่งกายผิดระเบียบข้อบังคับของวิทยาลัย ดังนี้
1.1 จำนวน 1-2 ครั้ง ต่อ 1 สัปดาห์ ตักเตือนด้วยวาจา
1.2 จำนวน 3 ตั้ง ต่อ 1 สัปดาห์ ตักเตือนและเสนอตัดคะแนน
2. มาวิทยาลัยสายโดยไม่มีเหตุจำเป็น
3. ลักขโมยทั้งในและนอกวิทยาลัย
4. ทำลายทรัพย์สินวิทยาลัยหรือสาธารณะต่างๆ
5. สูบบุหรี่ กัญชา ดื่มสุรา หรือของเสพติด หรือมีไว้ครอบครอง
6. เล่นการพนัน
7. นำสื่อลามกอนาจารเข้ามาที่วิทยาลัย
8. เที่ยวเตร่กลางคืนในช่วงเวลา 22.20 - 04.00 น ของวันใหม่
9. พกวัตถุระเบิดหรือมีอาวุธติดตัวหรือซ่อนเร้นไว้เพื่อใช้ในการประทุษร้าย
10. เข้าไปในสถานที่ค้าประเวณี สถานบริการ สถานการพนัน
11. ประพฤติตนไม่สำควรแก่สภาพนักเรียน/นักศึกษาทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติศักดิ์ของสถานศึกษา
12. ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับอย่างร้ายแรง
13. เคยรับโทษอย่างอื่นแล้วยังไม่เข็ดหลาบ
14. กระทำตัวเป็นปฏิปักษ์ต่ออำนาจบริหารวิทยาลัย หรืบังคับขู่เข็ญ ยุยงส่งเสริม หรือ สนับสนุนให้นักเรียน/นักศึกษากระทำการเช่นว่า
15. เกี่ยวข้องกับยาเสพติด (ยาบ้า) โดยการเสพ จำหน่าย หรือ ผลิต
ข้อที่ 26 การสั่งการพักการเรียน ผู้อำนาจลงโทษ คือ หัวหน้าสถานศึกษาจะสั่งพักการเรียนได้
ครั้งหนึ่งไม่เกิน 7 วัน หรือจนกว่าความผิดนั้นจะได้รับการแก้ไขให้ถูกต้องแล้วจะแจ้งให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองทราบเป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อนักเรียน/นักศึกษากระทำความผิดกรณีเดี่ยวกันเกิน 5 ครั้ง ขึ้นไป และรวมคะแนนเกิน 5 ครั้ง ขึ้นไป และรวบรวม คะแนนถูกตัดถึง 150 คะแนน ในแต่ละปีการศึกษาหรือกระทำความผิดดังนี้และตัดคะแนนไม่เกิน ครั้งละ 150 คะแนน
1. โดยถูกลงโทษตามข้อ 25 มาแล้วไม่เข็ดหลาบ
2. ประพฤติตนไม่สำควรแก่สภาพนักเรียน/นักศึกษาทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติศักดิ์ของ สถานศึกษาฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษาอย่างร้ายแรง
ข้อที่ 27 นักเรียน/นักศึกษา ที่ถูกตัดคะแนนความประพฤติถึง 80 คะแนน จะไม่รับรองความประพฤติจากโรงเรียน เว้นแต่หัวหน้าสถานศึกษาอนุมัติ
ข้อที่ 28 การให้ย้ายสถานศึกษา ผู้มีอำนาจ คือ หัวหน้าสถานศึกษา เมื่อนักเรียน/นักศึกษากระทำความผิดอย่างร้ายแรงเพียงครั้งเดียว หรือถูกลงโทษตามข้อ 25 หรือ 26 แล้วไม่เข็ดหลาบโดยมีความผิดชัดเจน
ข้อที่ 29 การเพิ่มคะแนนเมื่อนักเรียน/นักศึกษาประกอบคุณงามความดีจะพิจารณาดังนี้
1.ให้คะแนนไม่เกิน 10 คะแนน
1.1 แจ้งให้ทราบถึงพฤติกรรมของนักเรียนนักศึกษาที่กระทำความผิดหรือพยายามกระทำความผิด
1.2 เก็บสิ่งของหรือเงินที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 บาท
1.3 ช่วยรักษาความสะอาดของวิทยาลัย
1.4 ช่วยเหลืองานหรือกิจกรรมของวิทยาลัยเป็นพิเศษ
1.5 นำชื่อเสียงมาสู่วิทยาลัยในระดับวิทยาลัย
2.ให้คะแนนไม่เกิน 20 คะแนน และให้เกียรติบัตร
2.1 แจ้งให้ทราบถึงพฤติกรรมของนักเรียนนักศึกษาที่กระทำความผิดหรือพยายามกระทำความผิดกรณีอย่างร้ายแรง
2.2 เก็บสิ่งของหรือเงินที่มีมูลค่าไม่เกิน 51-100 บาท
2.3 ช่วยรักษาความสะอาดของวิทยาลัย 5 ครั้งขึ้นไป
2.4 ช่วยเหลืองานหรือกิจกรรมของวิทยาลัยเป็นพิเศษและชุมชน อย่างน้อย 5 ครั้งขึ้นไปในแต่ละภาคเรียน
2.5 นำชื่อเสียงมาสู่วิทยาลัยในระดับเขต
3. ให้คะแนนไม่เกิน 30 คะแนน และให้เกียรติบัตร
3.1 แจ้งให้ทราบถึงพฤติกรรมของนักเรียนนักศึกษาที่กระทำความผิดหรือพยายามกระทำความผิดกรณีอย่างร้ายแรงอย่างน้อย 2 ครั้ง
3.2 เก็บสิ่งของหรือเงินที่มีมูลค่าไม่เกิน 101-500 บาท
3.3 ช่วยรักษาความสะอาดของวิทยาลัย 7 ครั้งขึ้นไป
3.4 ช่วยเหลืองานหรือกิจกรรมของวิทยาลัยเป็นพิเศษและชุมชน อย่างน้อย 7 ครั้งขึ้นไปในแต่ละภาคเรียน
3.5 นำชื่อเสียงมาสู่วิทยาลัยในระดับจังหวัด
4. เพิ่มคะแนน 50 คะแนน และให้เกียรติบัตร
4.1 เก็บสิ่งของหรือเงินที่มีมูลค่าไม่เกิน 501 บาท
4.2 นำชื่อเสียงมาสู่วิทยาลัยในระดับภูมิประเทศหรือระดับประเทศ
|